เงินทุนหมุนเวียนสำหรับ SMEs
อนุมัติเร็ว ใช้งานสะดวก คล่องตัว
เติบโตอย่างก้าวกระโดด
สยาม วาลิดัส ช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตขึ้นได้อย่างไร
สยาม วาลิดัส เป็นตัวกลางสำหรับให้ธุรกิจ SMEs ระดมทุนในรูปแบบการออกหุ้นกู้ ผ่านแพลตฟอร์มคราวด์ฟันดิง ช่วยปลดล็อคให้ธุรกิจของคุณสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน
เงินทุนในรูปแบบหุ้นกู้ประเภทวงเงินหมุนเวียน เพื่อเสริมสภาพคล่อง หรือเพื่อการขยับขยายธุรกิจ เป็นทางเลือกใหม่ให้แก่ SMEs ก้าวไปข้างหน้า พร้อมรับการเติบโตอย่างยั่งยืน
SMEs จะเข้าร่วมระดมทุนได้อย่างไร
SMEs เริ่มระดมทุนได้ง่ายๆ
ใช้เวลาสมัครไม่ถึง 15 นาที
รอผลการอนุมัติภายใน 48 ชั่วโมง
เริ่มระดมทุนให้กับธุรกิจของคุณได้ทันที
เมื่อระดมทุนสำเร็จ เงินจะเข้าบัญชีใน 3 วันทำการ
บริการของเรา
สำหรับผู้จำหน่ายสินค้า และผู้ให้บริการ (Supplier and Carrier)
* บัญชีสยาม วาลิดัส ปัจจุบันให้บริการเฉพาะคู่ค้าของเอสซีจี
สำหรับตัวแทนจำหน่าย และผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ (Dealer and Distributor)
* ปัจจุบันให้บริการเฉพาะคู่ค้าของเอสซีจี
สำหรับทุกธุรกิจ SMEs
- แบบชำระคืนครั้งเดียว ระยะเวลาชำระเงินคืน สูงสุด 4 เดือน
- แบบผ่อนชำระรายเดือน ระยะเวลาชำระเงินคืน 12 เดือน
คำถามที่พบบ่อย
ใครสามารถออกหุ้นกู้ผ่านแพลตฟอร์มของสยาม วาลิดัส ได้บ้าง
คุณสมบัติผู้ออกหุ้นกู้:
- จดทะเบียนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ในรูปแบบ บริษัทจำกัด หรือ บริษัทจำกัด (มหาชน)
- มีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 1 คน เป็นคนไทย (ซึ่งถือหุ้นไม่น้อยกว่า 20%) โดยต้องเป็นผู้มีส่วนในการตัดสินใจดำเนินธุรกิจ และอาศัยอยู่ในประเทศไทย
การออกหุ้นกู้ผ่านคราวด์ฟันดิง มีขั้นตอนอะไรบ้าง
4 ขั้นตอนในการออกหุ้นกู้ผ่านคราวด์ฟันดิง
ขั้นตอนที่ 1 : การกรอกใบสมัครและทำแบบประเมินความเสี่ยงของผู้ออกหุ้นกู้
การขอระดมทุนบนแพลตฟอร์มของ สยาม วาลิดัส จะต้องเตรียมข้อมูลดังนี้
– ข้อเสนอเพื่อระดมทุน เช่น เพื่อขยายธุรกิจ, เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน, เพื่อการรวมหนี้
– อัพโหลดเอกสารสำหรับประเมินความเสี่ยงของผู้ออกหุ้นกู้
สยาม วาลิดัส จะทำการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือทางการเงินของผู้ขอออกหุ้นกู้ และทำการจัดอันดับความเสี่ยง (credit scoring) ซึ่ง score ที่ได้รับจะมีผลต่อการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ขอออกหุ้นกู้ต้องชำระคืน โดยผู้ขอออกหุ้นกู้ต้องลงนามรับทราบและยินยอมผลการจัดอันดับความเสี่ยงและเงื่อนไขต่างๆ (ลงนามเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์)
ขั้นตอนที่ 2 : การลงทะเบียนซื้อหุ้นกู้ คราวด์ฟันดิง
หลังจากที่ผู้ขอออกหุ้นกู้ลงนามรับทราบและยินยอมผลการจัดอันดับความเสี่ยงฯ สยาม วาลิดัส จะขึ้นทะเบียนหุ้นกู้ดังกล่าวให้มีการเสนอขายบนแพลตฟอร์มของสยาม วาลิดัส เพื่อให้ผู้ลงทุนใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงทุน
เมื่อผู้ลงทุนทำการลงทะเบียนจองซื้อหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงแล้ว และสามารถระดมทุนได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ผู้ออกหุ้นกู้จะออกใบหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงให้ผู้ลงทุน แต่หากการจองซื้อไม่สำเร็จ ผู้ลงทุนจะได้รับค่าจองซื้อกลับคืน
ขั้นตอนที่ 3 : การออกใบหุ้นกู้ คราวด์ฟันดิง
บริษัทผู้ออกหุ้นกู้ พิจารณารายละเอียดของหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง รวมทั้งข้อกำหนดสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ และออกใบหุ้นกู้ คราวด์ฟันดิง ให้กับผู้ลงทุน โดยเงินทุนจะถูกโอนจาก custodian ไปยังผู้ออกหุ้นกู้
ขั้นตอนที่ 4 : ข้อกำหนดของผู้ออกหุ้นกู้
สยาม วาลิดัส จะเป็นผู้ดูแลหุ้นกู้ที่ขึ้นทะเบียนบนแพลตฟอร์ม และจะติดตามการจ่ายชำระคืนเงินกู้ตามเงื่อนไขให้แก่ผู้ลงทุน ตลอดอายุสัญญาของหุ้นกู้
ทำอย่างไรหากผู้ออกหุ้นกู้ผิดนัดชำระหนี้
ในกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ประสบปัญหาและอาจนำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้ กรุณาติดต่อสยาม วาลิดัส ทันที เพื่อที่เราจะได้ช่วยเหลือให้คำแนะนำและหาแนวทางผ่อนปรนเงื่อนไขการจ่ายชำระคืนเงินกู้ เช่น การขอขยายอายุสัญญาของหุ้นกู้ หรือ การเปลี่ยนวันครบกำหนดชำระหนี้ เป็นต้น
SMEs ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างในการเข้าร่วมคราวด์ฟันดิง
- หนังสือรับรองบริษัท
- บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
- Bank statement (บัญชีหลักของบริษัท)
- งบการเงินล่าสุดของบริษัท
- ผลการตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโรของบริษัท
- สำเนาบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทางของผู้ถือหุ้นหลัก (ที่ถือหุ้นเกินกว่า 20%)
ชำระคืนเงินกู้ผ่านช่องทางใดได้บ้าง
การโอนเงินผ่านธนาคาร หรือ การหักบัญชีเงินฝาก
ชำระคืนเงินหรือถอนหุ้นกู้คืนได้ก่อนกำหนดหรือไม่
สามารถทำได้ ในกรณีที่ต้องการจ่ายชำระเงินกู้เต็มจำนวน (กรุณาติดต่อเรา เพื่อให้คำแนะนำและแจ้งสรุปภาระหนี้)
เปลี่ยนวันชำระคืนเงินกู้ได้หรือไม่
ตารางการชำระคืนเงินกู้ได้ถูกกำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวนการลงทุน หากท่านต้องการเปลี่ยนแปลงตารางดังกล่าว กรุณาติดต่อเรา
อัตราดอกเบี้ยคิดเป็นเท่าไหร่
อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 5-17% ต่อปี โดยมีความแตกต่างกันขึ้นกับปัจจัย เช่น โปรไฟล์ของ SMEs ผู้ออกหุ้นกู้, ผลการประเมินความเสี่ยงด้านเครดิต, ประเภทของวงเงินกู้ และระยะเวลาการกู้ยืม เป็นต้น