SME Crowdfunding ดำเนินการอย่างไร
แพลตฟอร์มทางการเงินแบบดิจิทัล (Fintech) ของ สยาม วาลิดัส ซึ่งได้รับรางวัลการันตีชนะเลิศมาแล้ว จะมาช่วยให้ SMEs ซึ่งไม่สามารถกู้ยืมเงินจากธนาคารหรีอสถาบันการเงินโดยทั่วไป จะสามารถได้รับเงินทุนหมุนเวียนจากนักลงทุนเฉพาะกลุ่ม

คำถามที่พบบ่อย
คาดว่าจะมีผลตอบแทนจากการลงทุนเท่าไร
คาดว่าอยู่ระหว่าง 4-12% ต่อปี
การเปิดบัญชีเพื่อการลงทุน จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
นักลงทุนเฉพาะกลุ่ม
แบ่งนักลงทุนออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1: นักลงทุนที่มีประสบการณ์ลงทุนโดยตรงในตลาดหุ้นมาแล้วเป็นระยะเวลาอย่างน้อย1 ปี และมีสินทรัพย์สุทธิตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป
– เอกสารเพื่อรับรอง กรณีสินทรัพย์สุทธิ จะไม่รวมที่พักอาศัย, และทรัพย์ที่ติดจำนอง
กลุ่มที่ 2: นักลงทุนมีประสบการณ์ลงทุนโดยตรงในตลาดหุ้นมาแล้วเป็นระยะเวลาอย่างน้อย1 ปี และมีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 4 ล้านบาทขึ้นไป
– เอกสารเพื่อรับรอง รายได้ต่อปี จะพิจารณาจาก รายได้ที่เสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคล, สลิปเงินเดือน, รายได้จากค่าเช่า, รายได้จากการลงทุน
กลุ่มที่ 3: นักลงทุนมีประสบการณ์ในธุรกิจ หรือลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ปี และมีเงินลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป
– เอกสารเพื่อรับรอง ประสบการณ์ทำงาน และพอร์ตการลงทุนในหลักทรัพย์ จะพิจารณาจากประวัติการเดินบัญชีธนาคารในช่วง 2-3 เดือนล่าสุด
โปรดเตรียมเอกสารประกอบการสมัครเปิดบัญชีเพื่อการลงทุน ดังนี้
– ไฟล์สแกนสำเนาบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง
– ไฟล์สแกนสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารหน้าแรก
– เอกสารประกอบเพื่อรับรอง สำหรับนักลงทุนแต่ละประเภท (กรณีนักลงทุนเฉพาะกลุ่ม)
สยาม วาลิดัส ประเมินความเสี่ยงของ SMEs ที่ต้องการออกหุ้นกู้ อย่างไร
การประเมินความเสี่ยงของ SMEs ที่ต้องการออกหุ้นกู้ ประกอบไปด้วยหลายปัจจัย เช่น ประเภทของสินเชื่อที่ผู้กู้ต้องการ, งบการเงิน, ประวัติการเดินบัญชีธนาคาร เป็นต้น ข้อมูลดงกล่าวจะถูกนำไปคำนวณผ่านระบบ credit rating ของ สยาม วาลิดัส
ธุรกิจประเภทใดที่สามารถสามาถสมัครเพื่อออกหุ้นกู้ผ่าน แพลตฟอร์ม Crowdfunding
ธุรกิจที่สามารถสามาถสมัครเพื่อออกหุ้นกู้ผ่าน แพลตฟอร์ม Crowdfunding ได้แก่ บริษัทที่จดทะเบียนในรูปแบบ บริษัทจำกัด หรือ บริษัท (มหาชน) จำกัด
มีการกำหนดระยะเวลาการลงทุนต่ำสุดหรือสูงสูงเท่าใด
หุ้นกู้โดยทั่วทั้วไปมีอายุระหว่าง 30-180 วัน ทั้งนี้ อายุหุ้นกู้มีความแตกต่างกันขึ้นกับประเภทของสินเชื่อและ SMEs ที่เป็นผู้ออกหุ้นกู้
สยาม วาลิดัส มีการเก็บค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง
มีการเก็บค่าธรรมเนียมจากรายได้ ดอกเบี้ย ค่าเรียกเก็บ และค่าปรับ ที่นักลงทุนได้รับผ่านแพลตฟอร์ม
ทุกรายการจะจ่ายผ่าน สยาม วาลิดัส และจะถูกหักชำระก่อนวันครบกำหนด โดยจะสอดคล้องกับธุรกรรมซึ่งสามารถตรวจสอบได้จาก dashboard
อะไรคือความเสี่ยง (การเปิดเผยความเสี่ยง)
เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ในการลงทุนในหุ้นกู้ผ่านแพลตฟอร์ม Crowdfunding ของสยาม วาลิดัส โปรดอ่านบทสรุปความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. ความต้องการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน
การกระจายความเสี่ยงคือการกระจายเงินลงทุนในการลงทุนหลากหลายประเภท ซึ่งมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน เพื่อลดความเสี่ยงโดยรวมของท่าน อย่างไรก็ตาม วิธีนี้จะไม่สามารถลดความเสี่ยงทุกประเภทได้
การกระจายความเสี่ยงคือองค์ประกอบสำคัญของการลงทุน นักลงทุนควรจัดสรรเงินลงทุนเป็นสัดส่วนของเงินลงทุนทั้งหมดที่มี มาลงทุนผ่าน สยาม วาลิดัส โดยควรคำนึงถึงความสมดุลกับการลงทุนอื่นที่มีสภาพคล่องและความเสี่ยงน้อยกว่า
2. ความเสี่ยงในการลงทุนในหุ้นกู้ผ่านแพลตฟอร์ม Crowdfunding
การลงทุนในหุ้นกู้ผ่านแพลตฟอร์ม Crowdfunding นั้น คุณจะได้รับชำระคืนเงินกู้อย่างสม่ำเสมอจากบริษัทที่ออกหุ้นกู้จนกระทั่งหุ้นกู้ครบกำหนด
ก่อนการลงทุน คุณต้องอ่านและยอมรับเงื่อนไขตามหนังสือชี้ชวนของหุ้นกู้แต่ละฉบับ ซึ่งจะระบุ อายุหุ้นกู้ และเงื่อนไข รวมทั้งจำนวนครั้งที่จ่ายชำระคืนเงินระหว่างผู้ออกหุ้นกู้และผู้ลงทุน
ข้อสำคัญที่ควรทราบคือ ผู้ออกหุ้นกู้ผ่าน Crowdfunding เป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวต่อสถานะการเงิน และความสามารถในการจ่ายชำระคืนเงินกู้ของตนเอง สยาม วาลิดัส ไม่ได้เป็นผู้ออกหุ้นกู้ผ่านแพลตฟอร์ม Crowdfunding ของสยาม วาลิดัส เอง และไม่ได้มีความรับผิดชอบต่อผลประกอบการของบริษัทที่มาออกหุ้นกู้เหล่านั้น
หุ้นกู้ที่ออกผ่าน Crowdfunding มีระดับความเสี่ยงสูง และนักลงทุนควรตระหนักถึงความเสี่ยงเฉพาะตัวของรูปแบบการลงทุนดังกล่าว
3. การสูญเสียเงินลงทุน และผลตอบแทนจากการลงทุน(ดอกเบี้ย)
ผู้ออกหุ้นกู้ผ่าน Crowdfunding มีโอกาสประสบปัญหาปัญาหาทางการเงิน เหมือนกับธุรกิจอื่นๆ และการลงทุนในหุ้นกู้ผ่าน Crowdfunding ก็มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้เช่นกัน
ในกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่สามารถ หรือไม่ต้องการ ที่จะจ่ายชำระคืนเงินกู้ นั่นเท่ากับว่า นักลงทุนก็จะสูญเสียเงินลงทุน จำนวนทั้งหมดหรือบางส่วน และไม่ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตด้วย ถ้าธุรกิจที่คุณลงทุนไปล้ม ทั้งบริษัทที่ออกหุ้นกู้และ สยาม วาลิดัส จะไม่มีการจ่ายคืนเงินลงทุน ดังนั้น คุณควรลงทุนในจำนวนที่คิดว่าสามารถยอมรับการสูญเงินได้ และควรมีการกระจายความเสี่ยงในพอร์ตลงทุน
หุ้นกู้ที่ออกผ่าน Crowdfunding ไม่ผ่านการรับประกันโดยบุคคลที่สาม และไม่มีกฎหมายใดๆคุ้มครองเงินลงทุน นั่นหมายความว่า ถ้าผู้ออกหุ้นกู้ล้มละลาย นักลงทุนก็สามารถจะสูญเงินลงทุนบางส่วนหรือทั้งหมดได้
4. ขาดสภาพคล่อง
สภาพคล่อง หมายถึง ความง่ายในการขายสิ่งที่ลงทุนอยู่ออกไป ยังบุคคลที่สาม หลังจากที่คุณได้ลงทุนซื้อมันมาแล้ว
การลงทุนในหุ้นกู้ที่ออกผ่าน Crowdfunding ของ สยาม วาลิดัส จัดได้ว่าเป็นการลงทุนที่ไม่มีสภาพคล่อง
5. การลงทุนที่แบบไม่มีหลักประกัน
ถ้าไม่มีการระบุให้เป็นอย่างอื่นแล้ว ธุรกิจการกรลงทุนหุ้นกู้ผ่าน Crowdfunding มักจะไม่ขอให้มีหลักประกันสำหรับการออกหุ้นกู้ แปลว่า ไม่มีหลักทรัพย์ของผู้ออกหุ้นกู้ในรูปแบบอสังหาริมทรัพย์ หรือสินทรัพย์อื่นใด มาวางค้ำประกันการจ่ายชำระคืนเงินกู้ ซึ่งหมายความว่า หากผู้ออกหุ้นกู้ล้มละลายแล้ว มีแนวโน้มสูงที่นักลงทุนก็จะสูญเสียเงินลงทุน และไม่ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน เพราะไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันการลงทุน
6. ความเสี่ยงจากการเรียกคืนก่อนกำหนด
ผู้ออกหุ้นกู้ มีสิทธิที่จะจ่ายชำระคืนเงินกู้ก่อนกำหนด เมื่อใดก็ได้ ซึ่งจะทำให้ระยะเวลาการลงทุนของคุณสิ้นสุดลงเช่นกัน
7. การขายทรัพย์ชำระหนี้
หากผู้ออกหุ้นกู้ผ่าน Crowdfunding ประสบปัญหาทางการเงิน และหยุดการดำเนินธุรกิจแล้ว ผู้ให้กู้และเจ้าหนี้รายอื่นที่มีสิทธิเหนือกว่าจะได้รับชำระคืนก่อน
หมายความว่า มีแนวโน้มสูงที่หลังจากเจ้าหนี้ที่มีสิทธิเหนือกว่าได้รับการชำระคืนแล้วนั กลงทุนก็ยังจะสูญเสียเงินลงทุน และไม่ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน
8. ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อ
หุ้นกู้ที่ออกผ่าน Crowdfunding มักจะจ่ายดอกเบี้ยที่อัตราคงที่ มากกว่าการที่จะอ้างอิงกับดัชนีอื่นๆ ดังนั้น คุณควรตระหนักว่า ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น อาจจะส่งผลในทางลบในแง่อัตราผลตอบแทนโดยเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจากหุ้นกู้ Crowdfunding ยิ่งไปกว่านั้น ภาวะเงินเฟ้อ อาจจะลดอัตราผลตอบแทนที่ทีแท้จริง เมื่อเวลาผ่านไป